ถึงคุณพัชรี เพื่อความเข้าใจของเพื่อนๆในที่กลัวอ่านแล้วงงกันครับ
1. ขลุ่ยเพียงออ เป็นขลุ่ยไทย ปิดทุกรูได้เสียง โด ผมยืนยันนะ แต่ที่ท่านบอกว่าได้เสียง Bb ก็จริง ในหลักของความถี่ของเสียง ตามทฤษฎีดนตรีสากล (อย่าลืมว่าเรากำลังพูดถึงขลุ่ยเพียงออ ที่น้องมือใหม่ซื้อมา ซึ่งมันไม่ใช่ขลุ่ยที่เทียบเสียงสากล)
2. เรื่องการตีมึนที่ว่าตามทฤษฎีดนตรีสากล เครื่งดนตรีคีย์ไหน เขาเล่นเสียงต่ำสุดเป็นโด หมด (เพื่อนๆที่ไม่ได้เรียนมาอาจสับสน) ตัวอย่างเครื่องดนตรีไทยดังต่อไปนี้ ระนาด ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ซอด้วง คีย์ต่ำสุดไม่ได้เป็นเสียงโด ครับ
3.ในทางดนตรีไทยกำหนดไว้ว่าขลุยหลิบปิดหมดเป็นเสียงฟา ส่วนความถี่เสียงที่ไปตรงกับเสียงสากลนั้นเกิดขึ้นในภายหลัง
ปล. เพิ่มเติมเผื่อเพื่อนๆที่สนใจครับ
การกำหนดโน้ตบนเครื่องดนตรีไทย
เมื่อครั้งที่ท่านครูหลวงประดิษฐไพเราะ(ศร ศิลปบรรเลง) ใช้โน้ตตัวเลขใน
การสอนดนตรีไทย ท่านใช้เลข 9 ตัว เป็นตัวกำหนดแทนนิ้วของเครื่องดนตรีมากกว่าใช้แทนเสียง ปัจจุบันนิยมใช้ตัวโน้ตของดนตรีตะวันตกคือ โด เร มี ฯลฯ
การกำหนดโน้ต โด เร มี ฯลฯ บนเครื่องดนตรีไทยนั้น จำเป็นต้องให้
สอดคล้องกับหลักการของดนตรีไทยในเรื่อง ?ทาง? ที่หมายถึงระดับเสียงของบันไดเสียงเป็นหลัก แต่ใช้การกำหนดตามระดับเสียงของเครื่องดนตรีไทยนั้น มิได้กำหนดโดยใช้ความถี่ของเสียงเป็นหลัก แต่ใช้การกำหนดตามระดับเสียงของเครื่องดนตรีเป็นหลัก เครื่องดนตรีที่ใช้กำหนดระดับเสียงคือ เครื่องเป่า ที่ใช้บรรเลงในวง โดยกำหนดระดับเสียงที่เครื่องเป่าบรรเลงได้สะดวก (ในการประสมวงที่มีเครื่องสายก็คำนึงถึงความสะดวกในการบรรเลงของเครื่องสายด้วย) เมื่อกำหนด ?ทาง? ได้แล้ว ก็จะรู้บันไดเสียงทันที คือ ระดับเสียงที่บอกทางนั้นจะเป็นเสียงขั้นที่ 1 ในบันไดเสียง 5 เสียง และเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นจึงได้มีการเทียบระดับเสียง ?ทาง? ต่างๆกับฆ้องวงใหญ่ ดังนี้
? ทางเพียงออล่าง เสียงที่ 1 ของบันไดเสียงในทางนี้จะตรงกับลูกฆ้องวงใหญ่
ลูกที่ 3 และ 10 (โดยนับจากเสียงต่ำไปเสียงสูง) เสียงที่ 1 ของทางนี้ตรงกับเสียงต่ำสุดของซอด้วง ทางนี้จึงเป็นทางที่ซอด้วงบรรเลงได้สะดวก และขลุ่ยเพียงออก็บรรเลงในทางนี้ได้สะดวกเช่นกัน
? ทางใน เสียงที่ 1 ของบันไดเสียงในทางนี้จะตรงกับลูกฆ้องวงใหญ่ ลูกที่ 4
และ 11 ทางนี้เป็นทางที่ ปี่ในบรรเลงได้สะดวกที่สุด วงปี่พาทย์ไม้แข็งซึ่งมีปี่ในเป็นเครื่องเป่าประจำวงมักจะบรรเลงในทางนี้ ดังจะพบในการบรรเลงเพลงหน้าพาทย์ต่างๆ
? ทางกลาง สูงกว่าทางใน 1 เสียง เสียงที่ 1 ของบันไดเสียงในทางนี้จะตรงกับ
ลูกฆ้องวงใหญ่ ลูกที่ 5 และ 12 ทางนี้เป็นทางที่ ปี่กลางบรรเลงได้สะดวกที่สุด ปี่ในและปี่กลางเป็นเครื่องเป่าในตระกูลเดียวกัน มีระบบนิ้วหรือการไล่เสียงที่เหมือนกัน ต่างกันที่ปี่กลางมีขนาดเล็กกว่า และมีระดับเสยีงสูงกว่า
? ทางเพียงออบน เสียงที่ 1 ของบันไดเสียงในทางนี้จะตรงกับลูกฆ้องวง
ใหญ่ ลูกที่ 6 และ 13 ทางนี้ทั้งขลุ่ยเพียงออ และซออู้บรรเลงได้สะดวกที่สุด จะเห็นว่าเสียงต่ำสุดของขลุ่ยเพียงออและซออู้ที่เทียบเสียงแล้วตรงกับเสียงที่ 1 ของทางนี้
? ทางนอก เสียงที่ 1 ของบันไดเสียงในทางนี้จะตรงกับลูกฆ้องวงใหญ่ ลูกที่ 7
และ 14 ทางนี้เป็นทางที่ปี่นอกบรรเลงได้สะดวกที่สุด ปี่นอกมีระบบนิ้วเช่นเดียวกับปี่ใน และปี่กลาง แต่ปี่นอกมีระดับเสียงสูงกว่าปี่กลาง
? ทางกลางแหบ เสียงที่ 1 ของบันไดเสียงในทางนี้จะตรงกับลูกฆ้องวงใหญ่
ลูกที่ 1 8 และ 15 ทางกลางแหบนี้ ปี่กลางก็บรรเลงได้สะดวกทั้งนี้เพราะทางกลางและทางกลางแหบเป็นทางที่เป็นคู่สัมพันธ์กัน
? ทางชวา เสียงที่ 1 ของบันไดเสียงในทางนี้จะตรงกับลูกฆ้องวงใหญ่ ลูกที่ 2
9 และ 16 ทางนี้สะดวกในการบรรเลงเครื่องสายปี่ชวา ซึ่งซออู้ต้องเทียบสายเปล่าสายทุ้มให้ตรงกับเสียงที่ 1 ของทางนี้ และสายเปล่าสายทุ้มของซอด้วงตรงกับสายเปล่าสายเอกของซออู้
ขอบคุณที่มา :
โรงเรียนศิษฏศิลป์ดนตรีไทยโรงเรียนศิษฏศิลป์ดนตรีไทย